หินก่อสร้าง

Reference : P01-0010

หินก่อสร้าง มีความแข็งแกร่งดีพอ คงทนต่อแรงบดอัดได้มาก ง่ายต่อการยึดเกาะและแทรกตัวของซีเมนต์ร่วมทั้งส่วนผสมอื่นได้ดี มีค่าความเป็นหินปูนสูง มีความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ) สูง มี Gradation ตามมาตรฐาน ASTM C33

ราคา บาท ค่าจัดส่ง บาท



หินก่อสร้างผาทองกรุ๊ปผลิตจากเหมืองหิน “ประเภทหินปูนแท้”
ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ค่าสัดส่วนขนาดคละของหินแต่ละขนาดตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมวลผสมคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C33 มาตรฐานงานทาง-กรมทางหลวง
และมาตรฐานกรมโยธาธิการ
มีระบบล้างน้ำในระหว่างกระบวนการย่อยเพื่อให้หินมีความสะอาดและยังมีวิศวกรผู้ชำนาญคอยควบคุม ให้คำแนะนำในทุกกระบวนการผลิตมีระบบการจัดส่งที่รวดเร็วและเพียงพอทันกับความต้องการของลูกค้า



คุณสมบัติเด่นหินก่อสร้าง
• มีค่าความเป็นหินปูนสูง แข็งแกร่งสูง คงทนต่อการขัดสี และทนต่อแรงบดอัดได้มาก
• มีค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) สูง ตามมาตรฐานการใช้งาน กรมชลประทาน มีความซึมน้ำต่ำ คงทนต่อปฏิกริยาเคมีและการสึกกร่อน
• ขนาดเม็ดหินค่อนข้างกลม มีเหลี่ยม คล้ายรูปลูกบาศก์ ผิวไม่เป็นมัน ง่ายต่อการยึดเกาะและแทรกตัวของซีเมนต์และส่วนผสมอื่นๆได้ดี
• มี Gradation ตามมาตรฐาน ASTM C33 และมาตรฐานกรมโยธาธิการ
• Gradation หินคละ (หินคลุก) ได้ตามมาตรฐานกรมกรมทางหลวง
• มีความสะอาด ปริมาณสารอินทรีย์ในเนื้อหินต่ำ
• สามารถผลิตตาม Gradation ที่หน่วยงานต้องการ
• มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (QC)

มีแหล่งหินที่ดี
• มีแหล่งหินที่ดี “เป็นประเภทหินปูนแท้” (Limestone) เป็นหินกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แร่แคลไซต์ (Calcite) (CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนต ในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์และซากสิ่งมีชีวิต ซึ่งทับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผนึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรดเนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพูหรือ สีดำ และภูเขาหิน ปูนมักมียอดหยักแหลมเป็นหน้าผา


มีระบบดูแลจัดการที่ดี
• มีการจัดการหน้าเหมือง อย่างถูกวิธี และทำการขุด เจาะ ระเบิด ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมดูแลโดยวิศวกรชำนาญการที่มีความรู้เฉพาะทาง ก่อนคัดแยกขนาดและส่งเข้าสู่กระบวนการย่อย



ตรงตามมาตรฐาน
• หินผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ค่าสัดส่วนขนาดคละของหินแต่ละขนาด ตรงตามมาตรฐาน ASTM-C33 , มาตรฐานงานทาง-กรมทางหลวงและมาตรฐานกรมโยธาธิการ มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต พร้อมมีเจ้าหน้าที่ QC ที่คอยให้บริการทางเทคนิคแนะนำ ตรวจสอบคุณภาพหิน และมีวิศวกรคอยให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน 


สะอาดพร้อมใช้งาน
• มีระบบการล้างน้ำในระหว่างกระบวนการย่อยหิน ทำให้หินที่ผลิตออกมามีความสะอาด พร้อมจำหน่ายอีกทั้งยังป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดจากการผลิตด้วยระบบสเปรย์น้ำที่ติดตั้งทั่วบริเวณโรงโม่บดและโรงย่อยหิน 



รางวัลการันตีคุณภาพ
• ได้รับรางวัลสถานประกอบการเครือข่ายที่มีการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง (CSR-DPIM  Continuous Award 2015) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, โครงการรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น EIA AWARD จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4 ปีซ้อนและรางวัลอื่นๆอีกมากมาย


พร้อมให้บริการ 
• มีสาขาที่พร้อมให้บริการเกี่ยวกับหินก่อสร้าง ทั้งหมด 5 สาขา ดังนี้
- สาขาทุ่งสง  ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
- สาขานาพรุ  ต.นาพรุ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช
- สาขาพัทลุง  ต.ท่าแค อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
- สาขาหาดใหญ่  ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
- สาขาเวียงสระ  ต.เขานิพันธ์ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี


ผลิตภัณฑ์หินก่อสร้าง


มีการทำการตรวจสอบทดสอบคุณภาพ โดยทีม QC ดังต่อไปนี้
1. มีการทดสอบค่าสัดส่วนขนาดคละของหิน (Sieve Analysis of Coarse Aggregate) ทดสอบ 2 ครั้งต่อเดือน มีวิธีการทดสอบ ดังต่อไปนี้
การคัดขนาดนี้ใช้หาขนาดเม็ด (particle size distribution) ของมวลผสมคอนกรีตทั้งละเอียดและหยาบ โดยให้ผ่านตะแกรงร่อนจากขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก แล้วเปรียบเทียบน้ำหนักที่ ผ่านหรือค้างตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ กับน้ำหนักทั้งหมดของตัวอย่าง
1.1 เครื่องมือ
  1.1.1 ตะแกรงร่อนที่มีช่องผ่านเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดต่างๆ ตามต้องการ พร้อมเครื่องเขย่าตะแกรง

  1.1.2 เครื่องชั่งที่สามารถชั่งได้ละเอียดถึงร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักตัวอย่างทั้งหมด
  1.1.3 เครื่องมือแบ่งตัวอย่าง(sample splitter) ขนาดต่างๆ
  1.1.4 แปรงทำความสะอาดตะแกรงชนิดลวดทองเหลือง แปรงขนและแปรงพลาสติก
  1.1.5 เตาอบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 110?5 องศาเซลเซียส
1.2 การเตรียมตัวอย่าง
  1.2.1 นำตัวอย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากันและแยกด้วยวิธีแบ่งสี่ หรือใช้เครื่องมือแบ่งตัวอย่างในขณะที่ตัวอย่างมีความชื้น เพื่อลดการแยกตัว
ถ้าตัวอย่างไม่มีส่วนละเอียดอาจจะแบ่งขณะที่ ตัวอย่างแห้งอยู่ก็ได้ ประมาณให้ได้น้ำหนักตัวอย่างเมื่อแห้งแล้วตามตารางดังนี้


ตารางน้ำหนักของตัวอย่างที่ใช้ในการคัดขนาด

ขนาดตะแกรงร่อน/มิลลิเมตรส่วนที่ผ่านตะแกรง/ร้อยละโดยน้ำหนักน้ำหนักตัวอย่างต่ำสุด/กิโลกรัม
4.7590 ถึง 1000.5
9.590 ถึง 1001.0
12.590 ถึง 1002.0
19.090 ถึง 1005.0
25.090 ถึง 10010.0
38.190 ถึง 10015.0
50.090 ถึง 10020.0
63.090 ถึง 10025.0
75.090 ถึง 10030.0
90.090 ถึง 10035.0


1.3 วิธีคัดขนาด
  1.3.1 ถ้ามีส่วนละเอียดจับเป็นก้อนใหญ่หรือมีส่วนละเอียดจับกันเองเป็นก้อน ต้องทำให้ส่วนละเอียดหลุดออกจากก้อนใหญ่หรือส่วนละเอียดที่จับกันเป็นก้อนแตกให้หมดตากหรืออบ ตัวอย่างให้ผิวแห้งที่อุณภูมิ 110?5 องศาเซลเซียส

  1.3.2 นำตัวอย่างไปเขย่าในตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ ตามต้องการ การเขย่านี้ต้องให้ตะแกรงร่อนเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งรวมทั้งมีแรงกระแทกขณะเขย่าด้วย เขย่านานจนกระทั่งตัวอย่างผ่านตะแกรงร่อนนั้น หรือใช่เวลาเขย่าทั้งหมดประมาณ 15 นาที เมื่อเขย่าเสร็จแล้ว
       * ในกรณีที่เป็นมวลผสมหยาบ ต้องไม่มีก้อนตัวอย่างซ้อนกันในตะแกรง
       * ในกรณที่เป็นมวลผสมละเอียด ต้องไม่มีตัวอย่างค้างตะแกรงร่อนเกิน 0.6 กรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือเกิน 200 กรัมต่อตะแกรงร่อนขนาด 20.5 เซนติเมตร
       * ถ้าตัวอย่างค้างตะแกรงร่อนเกินกว่าที่กำหนด ให้แบ่งตัวอย่างทดสอบ 2 ครั้งหรือเพิ่มตะแกรงร่อนขนาดใหญ่กว่าตะแกรงร่อนที่ค้างเกินเข้าไปอีกขนาดหนึ่ง นำตัวอย่างที่ค้างตะแกรงร่อนแต่ละขนาดไปชั่ง
1.4 วิธีการคำนวณ
ส่วนที่ผ่านตะแกรงร่อน ร้อยละโดยน้ำหนัก =R/T x100 เมื่อ R คือ น้ำหนักตัวอย่างที่ผ่านตะแกรงร่อนแต่ละขนาด เป็นกิโลกรัม

      T คือ น้ำหนักตัวอย่างทั้งหมด เป็นกิโลกรัม
  1.5 การรายงานผลรายงานผลส่วนที่ผ่านตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เป็นร้อยละโดยน้ำหนัก ทศนิยม 1 ตำแหน่ง

      หมายเหตุ การแบ่งตัวอย่างด้วยเครื่องแบ่งตัวอย่าง ต้องใช้เครื่องมือขนาดช่องกว้างประมาณหนึ่งเท่าครึ่งของก้อนโตที่สุด

2. มีการทดสอบค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity,Absorption) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
3. มีการทดสอบหน่วยน้ำหนักและช่องว่างในมวลรวม (Unit Weight)  ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
4. มีการทดสอบดัชนีความแบน (Flakiness Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปีละเอียดกว่า
5. มีการทดสอบดัชนีความยาว (Elongation Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
6. มีการทดสอบความต้านทานการสึกร่อนของหินโดยเครื่องลอสแองเจลิส (Abrasion Test by Los Angeles Machine) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี


การใช้งานของหินแต่ละประเภท









สินค้าที่ท่านสั่งซื้อประจำ
สินค้าที่ท่านเลือกดูล่าสุด